พันธุศาสตร์ประชากร (Population genetics)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน (gene frequency) หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล( allele frequency) และการเปลี่ยนแปลงความถี่ของจีโนไทป์ (genotype frequency) ที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของประชากร
และปัจจัยที่ทำให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก
ทฤษฎีของฮาร์ดี
– ไวน์เบิร์กมีใจความสำคัญว่า
สิ่งมีชีวิตในประชากรธรรมชาติที่อยู่ในภาวะสมบูรณ์แบบที่สุด หรือที่เรียกว่าภาวะการณ์เงื่อนไขจำกัด
(Ideal condition) และมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
จะสามารถถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมไปสู่รุ่นต่อไปได้ไม่มีสิ้นสุด
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนหรือจีโนไทป์ของประชากร
คือไม่เกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงใประชากรที่อยู่ในภาวะเงือนไขจำกัดนั้น ภาวะการณ์เงื่อนไขจำกัดมีอยู่
5 ประการคือ
ไม่มีมิวเทชัน ไม่มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ ไม่มีการอพยพ รูปแบการผสมพันธุ์เป็นแบบสุ่มหรือเป็นอิสระไม่มีการเลือกจับคู่ผสมพันธุ์
และประชากรมีขนาดใหญ่เราสามารถทฤษฎีของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
ได้จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกในภาพที่
19-15 พบว่ายีนพูลของประชากรรุ่นพ่อแม่นั้นมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และ r = 0.2 ถ้าสมาชิกทุกต้นในประชากรมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกัน แล้วเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่มีแอลลีล R มีความถี่ = 0.8 และ r มีความถี่ = 0.2 เมื่อมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์
ประชากรไม้ดอกในรุ่น
ลูกจะมีจีโนไทป์ดังภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น